เมนู

บทว่า อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำ
มาตุฆาตเป็นต้นเป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดา
อนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้าม
อนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน. เพราะว่าเมื่อ
สร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่า
เขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย 4 แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่ง
เต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนัน-
ตริยกรรมเหล่านั้นได้.
บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่
บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใด
อย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยัง
บุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้.

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ 16


พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป
บทว่า อริยมคฺคํ อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำ
โลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะ
บ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง.
ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์
ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ มีปัจจัยเป็นอรรถ
โดยนัยแรก พึงทราบความที่มัคคังคะที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุ
กล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นมรรคโดยนัยที่ 2. โดยนัยแห่งตติยบท ทรงแสดง